วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

การประเมินค่าสินทรัพย์ เพื่อประกอบการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลจากGIS

    GIS จะเป็นเครื่องมือหรือเทคโนโลยี ที่จะตอบสนองการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน เนื่องธุรกิจดังกล่าวมีการกระจายอยู่ในพื้นที่ที่มีทำเลและสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน โดยใช้เป็นเครื่องมือในการบริหาร การจัดการ ตลอดจนเพื่อเป็นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของบุคคลทุกระดับ ตั้งแต่ผู้ประกอบการจนถึงผู้ซื้อทรัพย์สิน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลต่างๆ ดังพอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้

  1.  เจ้าหน้าที่ภาครัฐ สามารถทำความเข้าใจในข้อมูลแผนที่ เพื่อใช้รองรับในเรื่องของการจดทะเบียนที่ดิน ประเมินราคาที่ดินเพื่อการเก็บภาษีโรงเรือน หรือภาษีที่ดิน การกำหนดนโยบาย การใช้ที่ดินและการวางผังเมือง เป็นต้น
  2. ผู้ประกอบการ สามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการเลือกทำเลในการก่อสร้างโครงการ ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่กลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่ม 
  3. ผู้ซื้อทรัพย์สิน สามารถเข้าถึงข้อมูลสภาพแวดล้อมของโครงการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ต่างๆ ได้ และสามารถเลือกซื้อและชำระค่าธรรมเนียมและภาษีได้อย่างโปร่งใสและเป็นธรรม
         ข้อมูลแผนที่ในรูปของระบบ GIS เพื่อใช้ในกิจการที่เกี่ยวข้องกับงานประเมินค่าสินทรัพย์ ดังกล่าว ควรมีข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของทุก ดังต่อไปนี้
  1. ข้อมูลตำแหน่ง ตำแหน่งที่ตั้ง ที่อยู่ ประวัติความเป็นมา รูปภาพ และรายละเอียดอื่นๆ 
  2. ข้อมูลรายละเอียดอื่นๆ ของผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและกลุ่มผู้นำอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของชุมชน เพื่อเข้าไปทำความเข้าใจและขอความร่วมมือผ่านไปยังประชากรในท้องถิ่น
  3. ข้อมูลตำแหน่งสถานที่สำคัญ สถานที่ราชการ ศูนย์การค้า ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการก่อการร้าย เพื่อสะดวกในการวางแผนป้องกัน
  4. ข้อมูลกระจายประชากร ครัวเรือน วัด มัสยิด โรงเรียนของศาสนาต่างๆ ว่ามีการกระจายตัวเป็นอย่างไร เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้ระมัดระวังตัวในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ในพื้นที่ที่มีลัทธิ ความเชื่อและศาสนาที่ต่างกัน
  5. ข้อมูลเส้นทางต่างๆ ในทุกประเภทเพื่อใช้ในการวางแผนป้องกันและติดตามผู้ก่อการร้ายในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ-สังคม และวัฒนธรรมของพื้นที่ อาทิ เช่น การตั้งถิ่นฐาน ชุมชน และคุณภาพชีวิต ป่าไม้ ป่าสงวน สถานที่ราชการ และวนอุทยาน เป็นต้น
  7. ข้อมูลการวิเคราะห์วิจัยด้านการท่องเที่ยว โดยแสดงแหล่งข้อมูลทางด้านแหล่งท่องเที่ยว เพื่อจัดทำแผนส่งเสริมการท่องเที่ยว ทำการวิเคราะห์วิจัยการพัฒนาการท่องเที่ยว ในระดับท้องถิ่นระดับชาติและระดับภูมิภาค
  8. ข้อมูลเพื่อการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมบริเวณพื้นที่ ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค ที่อาจจะพัฒนาขึ้นในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งการพัฒนาด้านพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นข้อมูลในการวางผังแม่บทการจัดเขตอุตสาหกรรมแต่ละประเภทให้เหมาะสม 
  9. ข้อมูลทางด้านกายภาพ ได้แก่ อุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา อุทกศาสตร์ ชลศาสตร์ สมุทรศาสตร์และวิศวกรรมชายฝั่ง สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน แหล่งน้ำผิวดิน ลำน้ำธรรมชาติ กระแสลม คุณภาพน้ำทะเล ชีววิทยาทางทะเล ลักษณะของคลื่นการเคลื่อนตัวของตะกอนชายฝั่ง กระแสน้ำ ระดับน้ำ เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบทางวิศวกรรมสำหรับการพัฒนาด้านต่างๆ
  10. ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ที่แสดงให้เห็นสภาพปัจจุบันของทรัพยากรธรรมชาติ 4 องค์ประกอบ คือ ข้อมูลสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ ซึ่งประกอบด้วย สภาพทางธรณีวิทยา คุณภาพดินและเสถียรภาพดิน คุณภาพน้ำ และอื่นๆ ข้อมูลสิ่งแวดล้อมทางด้านชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ ความสัมพันธ์กันในระบบนิเวศน์ พันธุ์พืช สัตว์ป่าและสัตว์น้ำข้อมูลการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย การคมนาคมขนส่ง การอุตสาหกรรม รูปแบบการใช้ที่ดิน แผนพัฒนาของภาครัฐและเอกชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นต่อไป ข้อมูลคุณภาพชีวิต ซึ่งประกอบด้วย เศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต รายได้ สาธารณสุข สุนทรียภาพ อาชีพการเพิ่มแรงงาน เป็นต้น รวมทั้งปฏิกิริยาของชุมชนต่อทางราชการ อุบัติเหตุการก่อเหตุร้ายและความปลอดภัย 
  11. จากแผนที่ที่มีข้อมูลดังกล่าว สามารถทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจสภาพพื้นที่ใน 3 จังหวัดภาคใต้มากขึ้น ทำให้เข้าใจศักยภาพและปัญหาของพื้นที่ เพื่อที่จะได้กำหนดนโยบายการแก้ปัญหาและพัฒนาให้ถูกต้องมากที่สุดต่อไป


ข้อมูลจาก:http://www.thaiappraisal.org/thai/monthly/monthly_view.php?strquery=defaultdata.21.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น