วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

การนำ GIS มาใช้ประกอบการประเมินค่าทรัพย์สินแบบ CAMA หรือ Mass Appraisal



                              การนำ GIS มาใช้ประกอบการประเมินค่าทรัพย์สินแบบ CAMA หรือ Mass Appraisal ถือเป็นการผสานเทคโนโลยีสำคัญที่จะทำให้การประเมินค่าทรัพย์สินได้รับการพัฒนาให้ก้าวกระโดดไปข้างหน้าอีกก้าวหนึ่ง โดยสามารถมองเห็นภาพประกอบด้วย กรณีที่นำ GIS มาใช้ประกอบในส่วนของการวิเคราะห์ ก็คือการสร้างเส้นแสดงความสูง-ต่ำของพื้นที่(contour line) ตามราคาที่ดินหรือราคาบ้านที่สูง-ต่ำแตกต่างกัน เส้นดังกล่าวนี้ช่วยให้เห็นทิศทางการเพิ่มลดของมูลค่าทรัพย์สินในแต่ละทำเล ทำให้เห็นภาพการเชื่อมต่อของราคาในแต่ละจุด ในทางตรงกันข้ามเส้นดังกล่าวนี้ยังช่วยในการพิจารณาว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ประเมินได้สอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ เช่น ในพื้นที่ชุมชนแออัด ราคาบ้านน่าจะต่ำ แต่หากออกมาสูงก็อาจแสดงว่าข้อมูลหรือแบบจำลองควรได้รับการทบทวน GIS and CAMA ในกระบวนการพัฒนาเมือง การจัดการการใช้ที่ดินและการประเมินค่าทรัพย์สินในปัจจุบันอาศัยเทคโนโลยีระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographical Information System: GIS) มากยิ่งขึ้น เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงกับเครือข่ายแผนที่อย่างเป็นรูปธรรม และในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ยังเชื่อมโยงกับการประเมินค่าทรัพย์สินโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Mass Appraisal: CAMA) เพื่อให้การประเมินมีความเป็นวิทยาศาสตร์และเชื่อถือได้ยิ่งขึ้น 

                    ตามมาตรฐานการประเมินค่าทรัพย์สินของสหรัฐอเมริกา กำหนดว่า CAMA หรือ Computer Assisted Mass Appraisal ประกอบด้วย
  •  การกำหนดอสังหาริมทรัพย์ที่พึงประเมิน เช่น เป็นที่อยู่อาศัยหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นใด
  • การกำหนดขอบเขตพื้นที่ เช่น ในเขตเมืองหรือนครหนึ่ง ๆ
  • การกำหนดเงื่อนไขหรือตัวแปรที่น่าจะมีผลต่อมูลค่าตลาดของทรัพย์สิน
  • การพัฒนาโครงสร้างของแบบจำลองทางสถิติ ที่สะท้อนความสัมพันธ์เชิงตัวแปรต่อมูลค่าตลาดของทรัพย์สิน
  • การตรวจวัดความแม่นยำของตัวแปรที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าทรัพย์สิน
  • การนำแบบจำลองนี้ไปปรับใช้ในพื้นที่ เพื่อขยายผลให้สามารถประเมินค่าทรัพย์สินได้อย่างประหยัดและรวดเร็ว
  • การปรับปรุงแบบจำลองแบบต่อเนื่องเพื่อความเหมาะสมกับภาวะตลาดยิ่งขึ้นในอนาค
ดังนั้นการทำ CAMA จะได้ผลดีหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับการกำหนด และดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้น โดยเฉพาะกรณีการจัดหาข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ หากข้อมูลไม่ดีพอ ผลที่ได้ก็อาจไม่น่าเชื่อถือ


ข้อมูจาก : http://www.gisphuket.com/
ภาพจาก : https://csde.washington.edu


 


วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

การนำระบบ GIS มาใช้ในงานประเมินค่าทรัพย์สิน

การนำระบบ GIS มาใช้ในงานประเมินค่าทรัพย์สิ

       1. ข้อมูลในระบบ GIS กับงานประเมินค่าทรัพย์สิน การนำระบบ GIS มาใช้ในงานประเมินค่าทรัพย์สิน สามารถทำได้ดังนี้

 1.1 ตำแหน่งที่ตั้งทรัพย์สินที่จะประเมิน และตำแหน่งที่ตั้งของข้อมูลประกอบการประเมิน ในการประเมิน ผู้ประเมินจะต้องทราบตำแหน่งที่ตั้งทรัพย์สินที่จะประเมิน ว่าตั้งอยู่ที่ใด มีสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เป็นอย่างไร และในบริเวณใกล้เคียงมีข้อมูลประกอบการประเมินอย่างไรบ้าง ระบบ GIS สามารถแสดงตำแหน่งที่ตั้งของทรัพย์สินที่จะประเมินและแสดงตำแหน่งที่ตั้งของข้อมูลประกอบการประเมินได้
 1.2 รายละเอียดของข้อมูลที่จะใช้ประกอบการประเมิน ระบบ GIS สามารถเก็บข้อมูลรายละเอียดของข้อมูล รายละเอียดของข้อมูลที่จะใช้ประเมินเป็นคำบรรยายที่เป็นตัวอักษรได้ (TEXT) ตามที่กำหนด ทำให้ผู้ประเมินทราบรายละเอียดต่าง ๆ ของข้อมูลที่จะใช้ประกอบการประเมินได้
 1.3 ภาพถ่ายหรือผังแปลงคงหรือผังโครงการของทรัพย์สินที่จะประเมิน ระบบ GIS สามารถแสดงรายละเอียดของภาพถ่ายหรือผังแปลงคงหรือผังโครงการของทรัพย์สินที่จะประเมินได้ ทำให้ผู้ประเมินทราบรายละเอียดของทรัพย์ได้ชัดเจนรวดเร็ว
  การแสดงผลการค้นหาของระบบ GIS สามารถแสดงได้เป็นรายข้อมูลหรือเป็นชุดข้อมูล อย่างรวดเร็วและสามารถเชื่อมโยงกันได้ระหว่างข้อมูลแผนที่+ข้อมูลตัวอักษร+ข้อมูลรูปภาพหรือผังต่าง ๆ 


        2. การนำระบบ GIS มาใช้ในแต่ละขั้นตอนงานประเมิน

  2.1 ก่อนออกสำรวจทรัพย์สินที่ประเมิน ระบบ GIS จะทำให้ผู้ประเมินสามารถเตรียมตัวก่อนออกไปประเมินได้ โดย
  • Print แผนที่จากระบบ GIS เพื่อทำแผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งทรัพย์สินที่จะประเมิน โดยไม่ต้องเขียนแผนที่ใหม่ หรือเขียนเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย
  • หาข้อมูลที่จะใช้ประกอบการประเมินได้จากฐานข้อมูลที่จัดเก็บเอาไว้ในระบบ
  • ใช้ Program การประเมินราคา ในการประเมินราคาทรัพย์สินได้
  • ออก Report การประเมินราคาทรัพย์สินได้ จากการ Key ข้อมูลลงในระบบ
 2.3 การอนุมัติรายงาน
  • ส่งผลการประเมินตามระบบ Online ให้ผู้มีอำนาจ ตามลำดับชั้นตรวจสอบได้
  • จัดเก็บเป็นฐานข้อมูลเพื่อการประเมินและการตรวจสอบต่อไป


วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

การประเมินค่าสินทรัพย์ เพื่อประกอบการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลจากGIS

    GIS จะเป็นเครื่องมือหรือเทคโนโลยี ที่จะตอบสนองการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน เนื่องธุรกิจดังกล่าวมีการกระจายอยู่ในพื้นที่ที่มีทำเลและสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน โดยใช้เป็นเครื่องมือในการบริหาร การจัดการ ตลอดจนเพื่อเป็นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของบุคคลทุกระดับ ตั้งแต่ผู้ประกอบการจนถึงผู้ซื้อทรัพย์สิน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลต่างๆ ดังพอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้

  1.  เจ้าหน้าที่ภาครัฐ สามารถทำความเข้าใจในข้อมูลแผนที่ เพื่อใช้รองรับในเรื่องของการจดทะเบียนที่ดิน ประเมินราคาที่ดินเพื่อการเก็บภาษีโรงเรือน หรือภาษีที่ดิน การกำหนดนโยบาย การใช้ที่ดินและการวางผังเมือง เป็นต้น
  2. ผู้ประกอบการ สามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการเลือกทำเลในการก่อสร้างโครงการ ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่กลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่ม 
  3. ผู้ซื้อทรัพย์สิน สามารถเข้าถึงข้อมูลสภาพแวดล้อมของโครงการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ต่างๆ ได้ และสามารถเลือกซื้อและชำระค่าธรรมเนียมและภาษีได้อย่างโปร่งใสและเป็นธรรม
         ข้อมูลแผนที่ในรูปของระบบ GIS เพื่อใช้ในกิจการที่เกี่ยวข้องกับงานประเมินค่าสินทรัพย์ ดังกล่าว ควรมีข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของทุก ดังต่อไปนี้
  1. ข้อมูลตำแหน่ง ตำแหน่งที่ตั้ง ที่อยู่ ประวัติความเป็นมา รูปภาพ และรายละเอียดอื่นๆ 
  2. ข้อมูลรายละเอียดอื่นๆ ของผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและกลุ่มผู้นำอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของชุมชน เพื่อเข้าไปทำความเข้าใจและขอความร่วมมือผ่านไปยังประชากรในท้องถิ่น
  3. ข้อมูลตำแหน่งสถานที่สำคัญ สถานที่ราชการ ศูนย์การค้า ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการก่อการร้าย เพื่อสะดวกในการวางแผนป้องกัน
  4. ข้อมูลกระจายประชากร ครัวเรือน วัด มัสยิด โรงเรียนของศาสนาต่างๆ ว่ามีการกระจายตัวเป็นอย่างไร เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้ระมัดระวังตัวในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ในพื้นที่ที่มีลัทธิ ความเชื่อและศาสนาที่ต่างกัน
  5. ข้อมูลเส้นทางต่างๆ ในทุกประเภทเพื่อใช้ในการวางแผนป้องกันและติดตามผู้ก่อการร้ายในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ-สังคม และวัฒนธรรมของพื้นที่ อาทิ เช่น การตั้งถิ่นฐาน ชุมชน และคุณภาพชีวิต ป่าไม้ ป่าสงวน สถานที่ราชการ และวนอุทยาน เป็นต้น
  7. ข้อมูลการวิเคราะห์วิจัยด้านการท่องเที่ยว โดยแสดงแหล่งข้อมูลทางด้านแหล่งท่องเที่ยว เพื่อจัดทำแผนส่งเสริมการท่องเที่ยว ทำการวิเคราะห์วิจัยการพัฒนาการท่องเที่ยว ในระดับท้องถิ่นระดับชาติและระดับภูมิภาค
  8. ข้อมูลเพื่อการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมบริเวณพื้นที่ ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค ที่อาจจะพัฒนาขึ้นในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งการพัฒนาด้านพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นข้อมูลในการวางผังแม่บทการจัดเขตอุตสาหกรรมแต่ละประเภทให้เหมาะสม 
  9. ข้อมูลทางด้านกายภาพ ได้แก่ อุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา อุทกศาสตร์ ชลศาสตร์ สมุทรศาสตร์และวิศวกรรมชายฝั่ง สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน แหล่งน้ำผิวดิน ลำน้ำธรรมชาติ กระแสลม คุณภาพน้ำทะเล ชีววิทยาทางทะเล ลักษณะของคลื่นการเคลื่อนตัวของตะกอนชายฝั่ง กระแสน้ำ ระดับน้ำ เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบทางวิศวกรรมสำหรับการพัฒนาด้านต่างๆ
  10. ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ที่แสดงให้เห็นสภาพปัจจุบันของทรัพยากรธรรมชาติ 4 องค์ประกอบ คือ ข้อมูลสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ ซึ่งประกอบด้วย สภาพทางธรณีวิทยา คุณภาพดินและเสถียรภาพดิน คุณภาพน้ำ และอื่นๆ ข้อมูลสิ่งแวดล้อมทางด้านชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ ความสัมพันธ์กันในระบบนิเวศน์ พันธุ์พืช สัตว์ป่าและสัตว์น้ำข้อมูลการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย การคมนาคมขนส่ง การอุตสาหกรรม รูปแบบการใช้ที่ดิน แผนพัฒนาของภาครัฐและเอกชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นต่อไป ข้อมูลคุณภาพชีวิต ซึ่งประกอบด้วย เศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต รายได้ สาธารณสุข สุนทรียภาพ อาชีพการเพิ่มแรงงาน เป็นต้น รวมทั้งปฏิกิริยาของชุมชนต่อทางราชการ อุบัติเหตุการก่อเหตุร้ายและความปลอดภัย 
  11. จากแผนที่ที่มีข้อมูลดังกล่าว สามารถทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจสภาพพื้นที่ใน 3 จังหวัดภาคใต้มากขึ้น ทำให้เข้าใจศักยภาพและปัญหาของพื้นที่ เพื่อที่จะได้กำหนดนโยบายการแก้ปัญหาและพัฒนาให้ถูกต้องมากที่สุดต่อไป


ข้อมูลจาก:http://www.thaiappraisal.org/thai/monthly/monthly_view.php?strquery=defaultdata.21.htm

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

จำนวนประชากร จังหวัดยะลา

                                                                     จังหวัดยะลา

เป็นจังหวัดที่อยู่สุดใต้ ของเมืองสยาม มีอำเภอ5 ตำบล59 มีจำนวนประชกรรวมในปี2557 ทั้งหมด 511,911 คน โดยอำเภอที่มีจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่มากที่สุดคือ อำเภอเมือง ถัดมาคือ อำเภอเบตง และอำเภอที่มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่น้อยที่สุดคือ อำเภอกรงปินัง ดูแผนที่ได้ดังภาพที่1


ภาพที่1




ข้อมูลจาก : สำนักบริหารงานทะเบียน กรมการปกครอง


วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

ที่อยู่อาศัยมีความสำคัญกับประชากรเมืองปี2050

              ประชากรของโลกโดยรวม จะเพิ่มขึ้นจาก 6.83 พันล้านคนในปี 2009 เป็น 8.01 พันล้านคนในปี 2025 และเพิ่มเป็น 9.15 พันล้านคนในปี 2050 โดยขยายตัว เฉลี่ย 1.00% ต่อปี ในช่วงปี 2009 - 2025 และขยายตัวเฉลี่ย 0.53% ต่อปี ในช่วงปี 2025 - 2050 การเติบโตของสังคมเมือง (Accelerating Urbanisation) 


            ปัจจุบันเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลกอาศัย อยู่ในเมือง แต่หากย้อนหลังไปในปี 1950 จะพบว่า มีเพียงร้อยละ 30 ของประชากรโลกที่อาศัยอยู่ในเมือง เนื่องด้วยพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ส่งผลให้วิถีชีวิตของประชากรในเมืองมีความสะดวกสบายมากขึ้น อาทิ ระบบคมนาคมขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค อาหาร เสื้อผ้า และที่อยู่อาศัยประชากรที่เคยอาศัยอยู่ ในชนบทก็เริ่มย้ายเข้ามาอาศัยในเมืองมากขึ้น เพื่อแสวงหารายได้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ขณะเดียวกันนโยบายของหลายประเทศที่มุ่งกระจาย รายได้และการพัฒนาไปสู่ชนบทมากขึ้น ช่วยยกระดับและพัฒนาสังคมชนบทไปสู่การเป็น สังคมเมือง ทำให้คาดว่าในปี 2050 สัดส่วนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองจะสูงถึงร้อยละ 72 โดยเฉพาะในภูมิภาคแอฟริกาตอนเหนือ (Sub-Saharan Africa) และเอเชีย ที่สังคมเมืองเริ่มมีแนวโน้ม พัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ในขณะที่พื้นที่ของประเทศยังคงเท่าเดิม ทำให้สัดส่วนจำนวน ประชากรต่อหน่วยพื้นที่ เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดปัญหา การขาดแคลนพื้นที่อยู่อาศัย ดังนั้นหลายประเทศจึงพยายามคิดหาวิธีการจัดการพื้นที่ในการอยู่อาศัยของประชากร ยกตัวอย่างหลายประเทศมีการถมทะเทเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการอยู่อาศัย เช่น ดูไบ ถมทะเลสร้างเมือง "เดอะเวิลด์ดูไบ"  ประเทศญี่ปุ่นถมทะเลทำเกาะเทียม 

DU02 ทัวร์เอเชีย  DUBAI  5D  3N  BY  TG



ข้อมูลจาก : 5 เทรนด์เปลี่ยนโลกในทศวรรษหน้า และธุรกิจที่คาดว่าจะได้อานิสงค์ จาก Mega Trends
ขอบคุณ ภาพจาก : http://www.kriengsak.com/Urban%20World
                        : http://www.tourtooktee.com/

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

การตั้งถิ่นฐาน Settlement

อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

      การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในอดีตนั้น จะเลือกพื้นที่ที่มีสิ่งแวดล้อมเหมาะแก่การดำรงชีพ ที่ใดมีผลิตผลตามธรรมชาติอย่างเพียงพอ มีสภาพอากาศดี มีอุณหภูมิ และความชื้นที่เหมาะสมมีนน้ำกินน้ำใช้สมบูรณ์มนุษย์จะตั้ง ถิ่นฐานอยู่อาศัยกันหนาแน่น และเมื่อมีจจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆจะมีผลกระทบต่อสิ่แวดล้อมตามธรรมชาติ เพราะถ้ามนุษย์รู้จักแต่จะใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่สนใจในการบำรุงดูแลรักษา ก็จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติมีแต่ความ เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ 

     
Hagget  and  Chorley  (1967)  ฮักแก็ต  และ คลอรีย์  นักภูมิศาสตร์กล่าวว่า  การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับสภาพแวดล้อม แหล่งการตั้งถิ่นฐานคือรูปแบบที่มองเห็นได้ชัดเจนจากลักษณะภูมิประเทศ  เป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพื้นที่ในอดีต ในด้านของการเชื่อมโยงระหว่างสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ และทรรศนะการครอบครองพื้นที่

      Braek  and  Webb (1968) เบรก  และ แวบบ์  ซึ่งเป็นนักภูมิศาสตร์  ได้ให้คำจำกัดความของการตั้งถิ่นฐานว่า หมายถึง  เครื่องมือ  อุปกรณ์ และความสะดวกสบายต่างๆ ที่มนุษย์คิดขึ้นมา  เมื่อตั้งตัวอยู่เป็นหลักแหล่งแล้ว  การตั้งถิ่นฐานจึงประกอบไปด้วยตัวมนุษย์  อาคาร บ้านเรือน ทรัพย์สมบัติ ถนนหนทาง ตลอดจน แนวรั้วที่แบ่งแยกเขตอาคารออกจากกัน และรวมไปถึงบทบาทหน้าที่และรูปร่างของแหล่งตั้งถิ่นฐาน เหล่านี้เป็นผลรวมของวัฒนธรรมของแต่ละสังคมซึ่งจะแตกต่างกันออกไป
     องค์การสหประชาชาติ (UN , 1974) ให้คำจำกัดความว่า  การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์หมายถึงองค์กร(Organism) ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นจำนวนมาก หน้าที่อันซับซ้อนภายใต้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  ทั้งองค์ประกอบที่มนุษย์สร้างขึ้น  และองค์ประกอบทางธรรมชาติ รวมกันเป็นถิ่นที่อาศัยซึ่งมนุษย์ต้องใช้เป็นแหล่งดำเนินชีวิต เลี้ยวดูครอบครัว ประกอบอาชีพ ตลอดจนแสวงหาการกินดี อยู่ดี ทางด้านกายภาพ จิตใจ  และสติปัญญา
      Doxiadis  (1976)  ดอกซิแอดิส   นักผังเมือง ให้คำจำกัดความว่า การตั้งถิ่นฐานหมายถึงการจัดรูปแบบพื้นที่ โดยมนุษย์เพื่อมนุษย์  เพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ และยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตามลำดับ การตั้งถิ่นฐานมนุษย์ต้องอาศัยมิติของเวลา และสถานที่ เริ่มจากจักรภพ ลงมาถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  บรรยากาศ  ตัวมนุษย์  และการตั้งถิ่นฐาน มีขนาดตั้งแต่ที่อาศัยชั่วคราว ไปจนถึงกึ่งถาวรและถาวร ดังนั้นการศึกษาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ต้องพิจารณาจากเกณฑ์ 5 ประการ คือ มนุษย์ สังคม สภาพแวดล้อม ที่อาศัย  และโครงสร้างพื้นฐานที่ละเอียดอ่อนแต่ละอย่าง  และในที่สุดต้องผสมผสานเป็นหนึ่งเดียว
อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าความหมายของการตั้งถิ่นฐาน มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ซับซ้อน ครอบคลุมมากขึ้น อันเนื่องมาจากการพัฒนาการของการศึกษา และพัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานที่เป็นพลวัตร (Dynamic) คือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และซับซ้อนขึ้นนั่นเอง


ขอบคุณข้อมูล : http://web.nso.go.th/en/survey/env/data_env/560920_env12_HumanSettlements.pdf
                      http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning50/la471/course_chapt_01-1.html